เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: การพัฒนาศักยภาพชุมชนบ้านทุ่งในการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวาน
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
ดร. กรวิกา  พรมจวง หัวหน้าวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : อ.ดร.กรวิกา พรมจวง การพยาบาลผู้สูงอายุ
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะอายุขัยเฉลี่ยของประชากรประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น ในปีพ.ศ. 2551 พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุในภาคเหนือรวม 1,482,000 โดย แยกออกเป็นชาย 685,000 คน หญิง 797,000 คน จากการคาดการณ์จำนวนประชากร ในปี พ.ศ. 2553 จะมีประชากรอายุมากกว่า 60 ปี จำนวนร้อยละ 11.4 ของประชากรทั้งหมดหรือ ประมาณ 7.6 ล้านคน กองวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550) หรืออีก 14 ปีข้างหน้า ประชากรผู้สูงอายุจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 12,866,000 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมด และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2568 หรือ อีก 17 ปีข้างหน้า จำนวนประชากรผู้สูงอายุของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 14,452,000 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้หากในอนาคตอีก 15-20 ปีข้างหน้า ประเทศไทย จะเป็นกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วน 1 ใน 5 ของคนทั้งประเทศ (หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, 2551) จากการสัมภาษณ์ พบว่าผู้สูงอายุในชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง มีพยาบาลวิชาชีพ และ อสม. ที่มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ รวมทั้งการนัดหมายผู้สูงอายุมาตรวจระดับน้ำตาลในเลือด การติดตามเกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือด การตรวจตามนัด และการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ถ้าผู้สูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ วิทยาลัยพยาบาล บรมราช-ชนนี นครลำปาง ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่สอนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นผู้นำในด้านการส่งเสริมสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข จากรายงานการวิจัยพบว่า การส่งเสริมสุขภาพในสถานที่ทำงาน ซึ่งอาจจะรวมไปถึงการทำวิจัยในพื้นที่ที่รับผิดชอบจะเป็นตัวที่มีอิทธิพล ต่อสุขภาพของบุคคลในชุมชนและบุคลากรในสถานที่ทำงานได้เป็นอย่างดี รัฐบาลควรให้ทุนสนับสนุนในการทำวิจัย เพื่อเพิ่มผลผลิตในการทำงาน ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัย (Goetzel & Ozminkowski, 2008) จากหลักฐานเชิงประจักษ์ จะเห็นได้ว่าการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ควรจัดทำในชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ซึ่งมีความหลากหลายของความเป็นชนบท อาชีพ การศึกษา และความเข้มแข็งของชุมชน ที่มี อสม. เป็นแกนนำด้านสุขภาพที่เข้มแข็งของ จ. ลำปาง อนึ่งโรงพยาบาลสบปราบ ยังไม่เคยมีใครศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวาน ตลอดจนการทำวิจัยเกี่ยวกับการให้โปรแกรมการสอนสุขศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานมาก่อน ดังนั้นในการทำวิจัยในครั้งนี้จะมีส่วนในการการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อเพิ่มพลังคุณค่าแก่ผู้ป่วยเบาหวาน และเพื่อสร้างโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานหลังจากการสำรวจข้อมูล และจัดทำการสอนสุขศึกษาโดยมี พยาบาล ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อสม. และญาติของผู้ป่วยเบาหวานเข้ามามีส่วนร่วม ในการสอนและเรียนรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาในเรื่องการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อจะได้ทราบถึงภาวการณ์ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างถูกต้องที่เป็นข้อมูลปัจจุบัน เพื่อจะได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่มีประโยชน์ในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานได้เหมาะสม รวมถึงการให้สุขศึกษาแก่ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลที่ใกล้ชิดที่สุดของผู้สูงอายุ หรือ อสม. ซึ่งมีส่วนช่วยเหลือผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพ และอาจเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำวิจัยเชิงทดลองในครั้งต่อไป รวมถึงสามารถให้เป็นข้อเสนอแนะเพื่อปรับเปลี่ยน เชิงนโยบายทางสาธารณสุขได้อย่างถูกต้องในการวิเคราะห์และประเมินผลของการใช้พยาบาลวิชาชีพ อาจารย์พยาบาลและผู้นำชุมชน หรือ อสม. ในการส่งเสริมสุขภาพของชุมชนต่อไป
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1. เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนบ้านทุ่งในการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวาน2. เพื่อสร้างโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานหลังจากการสำรวจข้อมูล และจัดทำการสอนสุขศึกษาโดยมีพยาบาล ผู้ป่วยสูงอายุเบาหวาน อสม. ญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เข้ามามีส่วนร่วมในการทำวิจัย 3. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง ในการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณโดยการสำรวจแบบสอบถามแล้วนำข้อมูลที่ได้มาสร้างโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ คณะผู้วิจัยได้คัดเลือกตัวแทนกลุ่มตัวอย่าง จากจำนวน 15 หมู่บ้าน ให้เหลือหมู่บ้านเดียว คือ บ้านทุ่ง ในชุมชนสบปราบ จ.ลำปาง มีการคัดเลือกผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (n=5) ญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (n=7) และ อสม. (n=7) รวมทั้งสิ้นจำนวน 19 คน ซึ่งเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่พื้นที่ตลอดเวลา มีการสำรวจแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกก่อนจัดทำโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ และทำการวิเคราะห์ข้อมูล หลังจากนั้นมีการจัดทำโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ทำการสอนสุขศึกษาแก่กลุ่มตัวอย่างและติดตามประเมินผลโครงการและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนอื่น
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพในชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน โดยผู้สูงอายุไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากโรคเบาหวานที่เป็นอยู่ 2. มีโปรแกรมการสอนสุขศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อส่งเสริมสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น การพัฒนาผู้นำชุมชนให้มีความรู้และเป็นผู้นำในด้านสุขภาพ จะช่วยให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี และมีชีวิตที่ยืนยาว3. ผู้สูงอายุเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ต่อเนื่องและยั่งยืน และผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานได้รับการส่งเสริมสนับสนุนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและได้สร้าง แรงสนับสนุนเชิงบวก ทำให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องอย่างยั่งยืน4. มีการประยุกต์ใช้อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การดูและเท้าและการออกกำลังกาย โดยการรำไม้พลองได้ถูกต้อง การรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายจากโรคเบาหวานลดน้อยลง5. มีการสร้างนวัตกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวานในผู้สูงอายุและเป็นการ นำผลการวิจัยไปใช้ได้จริงในทางคลินิกและในชุมชน ตลอดจนสามารถเป็นผู้นำในการถ่ายทอดวิธีรำไม้พลองสู่ชุมชนอื่นได้เป็นอย่างดี6. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานดีขึ้น อัตราการตาย อัตราการเกิดโรคมากกว่า 2 โรคขึ้นไป อัตราการครองเตียงในโรงพยาบาลของรัฐบาล ตลอดจนค่าใช้จ่าย ในการรักษาของผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานลดลง
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : 1. นักศึกษาควรจะมีการประยุกต์ใช้อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การดูและเท้าและการออกกำลังกายโดยการรำไม้พลองได้ถูกต้อง การรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายจากโรคเบาหวานลดน้อยลง2. มีการสร้างนวัตกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวานในผู้สูงอายุและเป็นการ นำผลการวิจัยไปใช้ได้จริงในทางคลินิกและในชุมชน ตลอดจนสามารถเป็นผู้นำในการถ่ายทอดวิธีรำไม้พลองสู่ชุมชนอื่นได้เป็นอย่างดี3. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานดีขึ้น อัตราการตาย อัตราการเกิดโรคมากกว่า 2 โรคขึ้นไป อัตราการครองเตียงในโรงพยาบาลของรัฐบาล ตลอดจนค่าใช้จ่าย ในการรักษาของผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานลดลง
    บทคัดย่อ
   

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานจะมีอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานจึงเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับโรคเบาหวานที่จะสามารถทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนและสร้างโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างในการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทุ่ง ตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง (Parcipatory Action Research: PAR) กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครหมู่บ้าน (n=7) ญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (n=7) และผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (n=5) รวมทั้งสิ้นจำนวน 19 คน โดยการสำรวจแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน หลังทำการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีมากที่สุดเมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม มีเพียงผู้ป่วย จำนวน 2 คน ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน จากการมีอาการไตวายเรื้อรัง คณะผู้วิจัยได้ผลิตสื่อการสอนโรคเบาหวานให้แก่ผู้นำชุมชนบ้านทุ่งเพื่อให้ประชาชนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง

คำสำคัญ: การพัฒนาศักยภาพชุมชน, เบาหวาน, โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ

Abstract

Diabetic Mellitus (DM) is increasing on each year. Developmental potential in Bantung’s community on the health promotion among diabetics is strategically fit for diabetics. It can help enhance quality of life of diabetics. The purposes of the study were to explore the potential of Bantung’s community and create the health promotion program on diabetics. Comparison of knowledge, attitude, health promotion’s behaviors, and satisfaction on the utilization of the health promotion program on both before and after participation of the program was done. Parcipatory Action Research (PAR) was utilized on this study of Bantung’s community, Tumbon Soupbrab, Amper Soupbrab: Lampang province. Subjects were community volunteers (n=7), proxy family or caregivers’ diabetic elderly (n=7), and diabetic elderly (n=5), totaling about 19 people. Survey questionnaires and in-depth interview were operated by emphasizing on community participation. Collecting data and content analysis were concurrently done. Findings revealed that at the post participation, subjects’ score had higher than before participation related to knowledge, attitude, and health promotion’s behaviors on the utilization of the health promotion program. Subjects’ satisfaction also had higher score after participation than before participation; it was in the excellent level. There were only about 2 people who had high on Fasting Blood Sugar (FBS) because of the complications of diabetics about 2 years from Chronic Renal Failure (CRF) before participating on the program. Educational media on DM were issued and given into the leaders of Bantung’s community for the independent study.

Keywords: Developmental Potential, Diabetic Mellitus, Health Promotion Program


ดาว์โหลดไฟล์บทคัดย่อ :  ดาวน์โหลดไฟล์ 20130121150429.pdf
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2554
ปีการศึกษา : 2554
ปีงบประมาณ : 2554
วันที่เริ่ม : 19 ม.ค. 2554    วันที่แล้วเสร็จ : 19 เม.ย. 2555
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 100,000.00 บาท สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน
รวมจำนวนเงินทุน 100,000.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
การพัฒนาศักยภาพชุมชนบ้านทุ่งในการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวาน        ดาวน์โหลดไฟล์ 20130121151320.pdf
ทั้งหมด 1 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6