เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานผู้สูงอายุไทย
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
ดร. กรวิกา  พรมจวง หัวหน้าวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : อ.ดร.กรวิกา พรมจวง การพยาบาลผู้สูงอายุ
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   ปัญหาและความสำคัญผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนมีความซึมเศร้า ประมาณร้อยละ 30 (Thongdang et al., 2008) มีรายงานการวิจัยที่พบว่า ความซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสามารถในการทำงานของร่างกายในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมี แรงสนับสนุนจากครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในระดับสูงมีความสัมพันธ์กันอย่างสูงต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ ความสัมพันธ์ระหว่างความซึมเศร้า แรงสนับสนุนทางสังคมและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ยังไม่เคยมีใครศึกษามาก่อนว่าปัจจัยร่วมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุไทยอย่างไร
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    วัตถุประสงค์ทั่วไป 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานในความรับผิดชอบของสถานีอนามัยตำบลวังกะพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านกิจกรรมทางกาย ด้านโภชนาการ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านการเจริญทางจิตวิญญาณ และการจัดการกับความเครียด 2. เพื่อศึกษาแรงสนับสนุนทางคม ความซึมเศร้า และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานในความรับผิดชอบของสถานีอนามัยตำบลวังกะพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ วัตถุประสงค์เฉพาะ3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานในความรับผิดชอบของสถานีอนามัยตำบลวังกะพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงพรรณนา (descriptive design) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน เพื่อศึกษาแรงสนับสนุนทางสังคม ความซึมเศร้า และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม และความซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในความรับผิดชอบของสถานีอนามัยตำบลวังกะพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์จำนวน 120 คน
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ความซึมเศร้า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุไทยมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ โดยความซึมเศร้า แรงสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในผู้สูงอายุไทยจะเป็นตัวแปรปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : ความซึมเศร้า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุไทยมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ โดยความซึมเศร้า จะเป็นตัวแปรปัจจัยร่วมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากที่สุด ดังนั้นการจัดกิจกรรมที่ช่วยลดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ น่าจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีการส่งเสริมสุขภาพได้ดีมากยิ่งขึ้นและเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทย
    บทคัดย่อ
   

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุไทย

กรวิกา พรมจวง, RN, MNS, MSN, PhD1

พิศิษฐ์ พวงนาค, MS2

นภดล เลือดนักรบ, MS, RN 3

ปัญหาและความสำคัญ

ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนมีความซึมเศร้า ประมาณร้อยละ 30 (Thongdang et al., 2008) มีรายงานการวิจัยที่พบว่า ความซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสามารถในการทำงานของร่างกายในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ มีแรงสนับสนุนจากครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในระดับสูงมีความสัมพันธ์กันอย่างสูงต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ ความสัมพันธ์ระหว่างความซึมเศร้า แรงสนับสนุนทางสังคมและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ยังไม่เคยมีใครศึกษามาก่อนว่าปัจจัยร่วมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุไทยอย่างไร

วัตถุประสงค์

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบปัจจัยร่วม คือ ความซึมเศร้า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและ แรงสนับสนุนทางสังคมว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุไทยอย่างไร

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

แรงสนับสนุนทางสังคมและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในวัฒนธรรมไทยจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพ ภาวะความซึมเศร้าจะมีความสัมพันธ์กับปัญหาของโรคเบาหวานและสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และ/หรือความรุนแรงของโรค ผลลัพธ์ที่ต้องการในพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ คือ การเพิ่มคุณภาพชีวิตและทำให้อายุยืนยาวในผู้สูงอายุไทย

ความรู้ทฤษฎีและหลักฐานเชิงประจักษ์

ความซึมเศร้า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุไทยมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ โดยความซึมเศร้า แรงสนับสนุนทางสังคม และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในผู้สูงอายุไทยจะเป็นตัวแปรปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ

วิธีการ

กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านในภาคเหนือของประเทศไทย ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ประมาณ 1 ชั่วโมง (n = 120) และทำการสุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้น มีการกำหนดค่า effect size (.15) อยู่ในระดับกลาง และค่า b = .97

ผลการวิจัยและข้อสรุป

อายุค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง ประมาณ 68 ปี ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54 ผลการศึกษา พบว่ามีปัจจัยร่วม 3 ตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุไทยที่เป็นโรคเบาหวาน คือ ความซึมเศร้า แรงสนับสนุนทางสังคมและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 37 ในพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ (adjusted R2 = .36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 22.9, p < .001) และพบว่า ความซึมเศร้ามีอิทธิพลสูงสุดต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ในผู้สูงอายุไทยที่เป็นโรคเบาหวาน (β = -.45)

1ปรด (การพยาบาลผู้สูงอายุ), พยม (การพยาบาลอายุศาสตร์และศัลยศาสตร์ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง), พยม (การบริหาร

การพยาบาล), ปพส (พยาบาล). วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

2วทบ, สบ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

3วทบ (สรีรวิทยา), ปพส. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์

คำสำคัญ: ความซึมเศร้า, แรงสนับสนุนทางสังคม, ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง, และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ
Factors that Influence Health-Promotion Behaviors in Diabetic Thai Elders

Kornwika Phromjuang, RN, MNS, MSN, PhD1

Pisit Phaungnak, MS2

Napadon Leaudnakrob MS, RN3

Background

Depression among community-dwelling Thai elders has been estimated to be about 30% (Thongdang et al., 2008). A statistically significant negative relationship between depression and functional ability among elders has been demonstrated in the literature. Many elderly had a moderate level of social support from their families. High self-esteem correlated with increased health-promotion behaviors among elderly. The relationships among depression, social support, and self-esteem have not been investigated in terms of their influence on health-promoting behaviors among Thai elders with diabetes.

Objectives

The objective of the current study is to investigate the predictors of depression, social support, and self-esteem related to health promotion in diabetic Thai elders.

Literature review

Social support and self-esteem in Thai culture encourage diabetic Thai elders to practice health promotion. Depression associated with diabetic problems could influence health promotion behavior and/or the severity of their diabetes. The ultimate goals are to increase lifespan and enhance quality of life among Thai elders.

Knowledge base/ Evidence base

Social support, depression, and self-esteem among Thai elders affect health promotion behaviors. Depression, social support, and self-esteem determine health-promoting behaviors among Thai elders.

Methods

Subjects were interviewed at diabetic elders’ homes in the northern area of Thailand. The duration of the interview was about 1 hour. Participants (n = 120) were randomly selected for this study. Descriptive statistics and hierarchical multiple regression analysis tests were applied to address the research questions. a = .05, medium effect size (.15), and b = .97 were set for this study.

Results and conclusions

The mean age in the sample was 68 years. Most of the subjects (54%) were female. Three Independent Variables (IVs) were hypothesized to influence health promotion related to diabetic care among Thai elders: depression, social support, and self-esteem. The three IVs explained 37% of the variance in the dependent variables and the adjusted R2 = .36, which was statistically significant amount (F = 22.9, p < .001). Of these, depression had the largest relative influence (β = -.45).

1PhD, MNS (Nursing Administration), MSN (Medical-Surgical Nursing on Clinical Nurse Specialist

(APN), RN in Gerontological Nursing, Boromarajonani College of Nursing, Buddhachinnarat

2MS, Uttaradit Nursing College, Ministry of Public Health, Uttaradit, Thailand

3MS, RN, Uttaradit Nursing College, Ministry of Public Health, Uttaradit, Thailand

Key words: Depression, Social Support, Self-Esteem, & Health-Promotion Behaviors



ดาว์โหลดไฟล์บทคัดย่อ :  ดาวน์โหลดไฟล์ 20130121145428.pdf
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2553
ปีการศึกษา : 2553
ปีงบประมาณ : 2553
วันที่เริ่ม : 19 ธ.ค. 2552    วันที่แล้วเสร็จ : 19 ม.ค. 2553
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 0.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุไทย        ดาวน์โหลดไฟล์ 20130121151012.pdf
ทั้งหมด 1 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6